เที่ยวเขาค้อ

ปฏิทิน

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การปรับตั้งรถเพื่อการดริฟท์ ขั้นต้น

1. ช็อคอัพฯ คู่หน้า แบบมีบอลจ๊อยท์ เพื่อปรับตั้งให้มุมล้อหน้าแบะออก หรือ แคมเบอร์เป็นลบ เพิ่มเพิ่มความยึดเกาะของล้อคู่หน้าให้มากกว่าคู่หลังโดยเฉพาะในโค้ง ซึ่งการปรับเช่นนี้จะช่วยให้การควบคุมรถผ่านโค้งไปง่ายขึ้น ส่วนล้อหลังพยายามให้มุมแคมเบอร์เป็นกลางให้มากที่สุด เพื่อที่จะทำให้ท้ายกวาดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการแบะของล้อที่มีน้อยกว่าล้อหน้า 

2. ช็อคอัพฯควรมีลักษณะ แข็งและหนึบ พวกแข็งแบบเด้งๆแบบช็อคอัพฯตัดแกนอัดน้ำมัน ตัดสปริง ใช้ไม่ได้ อันตราย 

3. เฟืองท้าย แบบ ลิมิเต็ด สลิป ดิฟเฟอเรนเชียล หรือ L.S.D. ( Limited Slip Differential) ภาษาชาวบ้านเรียก เต็ด ขั้นต้นใช้เฟืองท้ายลิมิเต็ดฯ ที่ติดมากับโรงงานก็เพียงพอ เช่นของนิสสันสกายไลน์ หรือ ซิลเวีย สำหรับรถนิสสัน ส่วนโตโยต้า ก็จะมีของติดรถอยู่แต่จะหายากกว่าของนิสสัน สำหรับ เฟืองท้ายลิมิเต็ดของแต่งนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีฝีมือขึ้นไปอีกระดับแล้ว  การดริฟท์โดยปราศจากเฟืองท้าย ลิมิเต็ดฯ นั้น จะทำให้การดริฟท์ยากขึ้น เนื่องจากเฟืองท้าย ลิมิเต็ดฯจะทำให้ล้อทั้ง 
ข้าง ปั่นออกมาพร้อมๆกัน ช่วยให้รถนั้นนิ่งกว่าในขณะการดริฟท์ เมื่อเทียบกับเฟืองท้ายแบบธรรมดา เพราะเฟืองท้ายแบบธรรมดา ล้อจะหมุนแค่ข้างเดียวและลากล้ออีกข้างไปด้วย ซึ่งทำให้เสียกำลังไป

วิธีการดริฟท์  (ก่อนอื่นเราควรปิดที่ถูกสร้างมาเพื่อกันไม่ให้รถเกิดการสไลด์)
1. Braking Drift - การดริฟท์ชนิดนี้ทำได้โดยการ เหยียบเบรกอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่โค้ง เพื่อที่ว่าจะได้ทำให้รถนั้นสามารถถ่ายน้ำหนักและทำให้ล้อหลังสูญเสียแรงยึดเกาะ จากนั้นก็ควบคุมการดริฟท์ด้วยพวงมาลัยและคันเร่ง การปรับอัตราการจับของเบรกก็ช่วยในการดริฟท์ได้ ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับสไตล์การขับของแต่ล่ะคน โดยปกติแล้ว หากอัตราการจับของเบรกค่อนไปทางล้อหลังจะช่วยให้เกิดการดริฟท์ได้ดีกว่า

2. Power Over Drift - การดริฟท์ชนิดนี้ทำได้โดยการ เข้าโค้งทั้ง ๆ ที่เหยียบคันเร่งเต็มที่ก่อให้เกิดการโอเวอร์สเตียร์เมื่อถึงโค้ง มันเป็นวิธีดริฟท์โดยทั่วไปสำหรับพวกรถขับเคลื่อน ล้อ (ได้ผลดีกว่ารถขับเคลื่อนล้อหลัง) Keiichi Tsuchiya เคยบอกว่าเค้าก็เคยใช้เทคนิคนี้เมื่อตอนที่เค้ายังหนุ่ม และกลัวที่จะดริฟท์เมื่อถึงโค้ง แต่อย่างไรก็ตาม เทคนิคนี้จะก่อให้เกิดอาการล้อฟรีทิ้งมากกว่าการดริฟท์หากเข้าด้วยมุมที่ผิด

3. Inertia (Feint) Drift - 
เทคนิคนี้สามารถทำได้โดยการโยกรถไปในทิศทางตรงกันข้ามกับโค้งและหลังจากนั้นก็อาศัยแรงเฉื่อยของรถ เพื่อเหวี่ยงรถกลับมาในทิศทางของโค้ง จากการที่เราหักหัวออกนอกโค้ง และหักกลับมาอย่างเร็ว คุณก็จะได้มุมที่ดีกว่า ในบางครั้ง การเบรกระหว่างที่เหวี่ยงรถไปในทิศทางตรงกันข้ามกับโค้งนั้นก็ช่วยในเรื่องของการถ่ายเทน้ำหนักเช่นกัน และจะทำให้เข้าโค้งได้ดีกว่าเดิมอีก นักดริฟท์มืออาชีพหลายคนกล่าวไว้ว่า นี่เป็นหนึ่งในเทคนิคทำได้ยากที่สุด เนื่องจากมีโอกาสหมุนสูง

4. Handbrake/ebrake Drift - เทคนิคนี้ค่อนข้างจะง่าย ดึงเบรกมือเพื่อให้ด้านหลังสูญเสียแรงยึดเกาะและควบคุมการดริฟท์ด้วยพวงมาลัยและการเดินคันเร่ง มีบางคนถกเถียงกันในเรื่องนี้ว่าการใช้เบรกมือนั้น ก่อให้เกิดการดริฟท์ หรือเป็นเพียงแค่พาวเวอร์สไลด์ แต่ในท้ายที่สุดแล้ว การใช้เบรกมือก็ไม่ต่างจากเทคนิคอื่น ๆ เพื่อดริฟท์ โดยทั่วไปแล้วนี่เป็นเทคนิคหลักสำหรับการดริฟท์รถขับเคลื่อนล้อหน้า นี่เป็นเทคนิคแรกที่มือใหม่จะใช้หากรถของเค้าไม่มีแรงกำลังมากพอที่จะทำให้รถสูญเสียแรงยึดเกาะด้วยเทคนิคอื่น ๆ และเทคนิคนี้ก็ใช้กันอย่างมากในการแข่งดริฟท์เพื่อดริฟท์ในโค้งกว้าง

5. Dirt Drop Drift - เทคนิคนี้ทำได้โดยการให้ล้อหลังของรถตกลงไปข้างทางที่เป็นดินเพื่อรักษาหรือเพื่อให้ได้มุมการดริฟท์โดยไม่สูญเสียกำลังหรือความเร็ว และเพื่อที่จะเตรียมสำหรับโค้งต่อไป เทคนิคนี้ใช้ได้เฉพาะกับถนนที่ไม่มีแผงกั้นและมีดินหรือฝุ่นหรืออะไรอย่างอื่นที่ทำให้สามารถสูญเสียแรงยึดเกาะได้ นี่เป็นเทคนิคที่ใช้กันโดยทั่วไปในการแข่งแรลลี่ WRC

6. Clutch Kick - เทคนิคนี้ทำได้โดยการเบิ้ลคลัทช์ (การเหยียบและปล่อย ปกตจะกระทำมากกว่า ครั้งในการดริฟท์เพื่อการแต่งโค้งด้วยความรวดเร็ว) เพื่อให้แรงขับเคลื่อนเกิดการสะดุด ทำให้รถเสียสมดุล มันทำให้ล้อหลังเกิดอาการลื่นไถลและทำให้คนขับสามารถก่ออาการโอเวอร์สเตียร์ได้

7. Choku Dori - นี่เป็นเทคนิคขั้นสูงซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้หนี่งในเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อเริ่มการดริฟท์ จากนั้นก็ใช้เบรกมือเพื่อการยืดการดริฟท์ในโค้ง

8. Changing Side Swing - เทคนิคนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในการแข่ง D1 ในญี่ปุ่น และมีความคล้ายคลึงกับ Inertia (Feint) Drift เป็นอย่างมาก ส่วนมากมันจะถูกใช้ในตอนที่จะดริฟท์โค้งแรก ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นโค้ง Double Apex และอยู่ต่อจากทางตรงยาว หากทางตรงยาวที่อยู่ก่อนโค้ง Double Apex นั้นมีลักษณะเป็นทางลง นักขับจะขับชิดขอบสนามด้านในโค้ง จากนั้น ด้วยการกะจังหวะที่ถูกต้อง นักขับจะเหวี่ยงหักรถไปอีกด้านนึงทันที การทำแบบนี้ ทำให้โมเมนตัมของรถเปลี่ยนไป ทำให้ล้อหลังสูญเสียแรงยึดเกาะ ตอนนี้รถอยู่ในช่วงดริฟท์แล้ว หลังจากนั้นก็ดริฟท์อย่างต่อเนื่องไปจนผ่านโ
ค้ง

9. Manji Drift เทคนิคนี้ใช้ตอนดริฟท์บนทางตรง ผู้ขับจะเหวี่ยงรถสลับข้างไปมาระหว่างดริฟท์ ซึ่งดูน่าทึ่งมาก มันสามารถใช้เป็นเทคนิคนำก่อนจะใช้เทคนิคต่อ ๆ ไปในข้างต้นก็ได้

10. Dynamic Drift เทคนิคนี้จะคล้าย ๆ กับ Choku Dori มันใช้รูปแบบของเทคนิคด้านบนทั้งหมด และไม่จำกัดเพียงแค่ เทคนิค นำมารวมกันเพื่อให้ได้การดริฟท์ที่วางเอาไว้
11. Kansei Drift - เทคนิคนี้จะใช้เมื่อการแข่งความเร็วกัน ขณะที่เข้าโค้งมาด้วยความเร็ว คนขับจะยกคันเร่งขึ้นในขณะที่ค่อยๆเลี้ยวเข้าโค้งเพื่อให้เกิดอาการท้ายกวดอย่างนุ่มนวล และจากนั้น ก็คุมการดริฟท์โดยใช้ พวงมาลัย เบรก และ คันเร่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น